วิชชา ๓ คือ ความรู้แจ้ง ความสามารถอันวิเศษ ที่เกินความรู้ความสามารถของมนุษย์ทั่วไป สำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ที่เป็นภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้ว (สุปฏิปนฺโน) ในพระวินัย อาศัยสีลสัมปทา ย่อมบรรลุวิชชา ๓
                                                                                                         (พระอภิธรรมปิฎก ฉบับอรรถกถา เล่มที่ ๗๕ หน้า ๕๓)

         ผู้ที่จะได้ วิชชา จะต้องเป็นผู้บรรลุ จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) อย่างประณีต จนชำนาญดีแล้วเท่านั้น จึงสามารถโน้มน้อมจิตไปตามที่ตนปรารถนาได้ องค์ประกอบของวิชชา ๓ คือ:-

 
    ๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (รู้ละลึกชาติก่อนได้) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อละลึกชาติ ย่อมละลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือละลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง... สองชาติบ้าง... สิบชาติบ้าง... ร้อยชาติบ้าง... แสนชาติบ้าง... ตลอดกัป (ตั้งแต่โลกเกิด ถึงโลกพินาศ)บ้าง... หลายกัปบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่อ, มีโคตร, มีผิวพรรณ, มีอาหาร, มีความสุขความทุกข์, อย่างนั้นๆ มีอายุเท่านั้นๆ ตายจากภพนั้นแล้วไปเกิดในภพอื่น ต่อๆไป ย่อมละลึกได้ พร้อมทั้งกิริยาอาการของชีวิตในครั้งนั้นๆ
    ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้การตาย การเกิด) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้ เพื่อเห็นหมู่สัตว์กำลังตาย, กำลังเกิด, เลวบ้าง, ประณีตบ้าง, ผิวพรรณดีบ้าง, ผิวพรรณทรามบ้าง, ได้ดีบ้าง, ตกยากบ้าง ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เกินตาของมนุษย์ทั่วไป ย่อมรู้เห็นหมู่สัตว์เป็นไปตามกรรมว่า ผู้นี้ประกอบด้วยกายทุจริต วาจาทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ ตายไปย่อมเข้าถึงอบาย, ทุคติ, วินิบาตนรก
ส่วนผู้ที่ประกอบด้วยกายสุจริต วาจาสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ ตายไปย่อมเข้าถึงสุคติสวรรค์
   ๓. อาสวักขยญาณ (ทำกิเลสให้สิ้น) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้เห็นทุกข์, เหตุของทุกข์, ความดับทุกข์, และทางดับทุกข์ ย่อมรู้เห็นอาสวะ(กิเลส), เหตุของอาสวะ, ความดับอาสวะ, และทางดับอาสวะ จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว การเกิดอีกของเราสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว


อภิญญา ๖

      อภิญญา ๖ คือ ความรู้แจ้ง ความสามารถวิเศษที่ยิ่งใหญ่ เกินความรู้ความสามารถของมนุษย์ทั่วไป สำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ที่เป็นภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้ว (สุปฏิปนฺโน) ในพระวินัย อาศัยสมาธิสัมปทา ย่อมบรรลุอภิญญา ๖
                                                                                                         (พระอภิธรรมปิฎก ฉบับอรรถกถา เล่มที่ ๗๕ หน้า ๕๓)
      ผู้ที่จะได้ อภิญญา จะต้องเป็นผู้บรรลุ จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) อย่างประณีต จนชำนาญดีแล้วเท่านั้น จึงสามารถน้อมโน้มจิตไปตามที่ตนปรารถนาได้ องค์ประกอบของอภิญญา ๖ คือ:-

     ๑. อิทธิวิธีญาณ (แสดงฤทธิ์) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อแสดงฤทธิ์ ย่อมสามารถแสดงฤทธิ์ได้หลายประการเช่น ทำคนเดียวให้เป็นหลายคน ทำหลายคนให้เป็นคนเดียว ทำให้ปรากฏ ทำให้หายไปทะลุฝา, กำแพง, ภูเขาได้โดยไม่ติดขัด  ผุดขึ้นหรือดำลงไปในแผ่นดิน เดินบนน้ำได้โดยน้ำไม่แตก เหาะไปในอากาศได้เหมือนนก ลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มากด้วยฝ่ามือได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดนรก, สวรรค์, พรหมโลก, และไปสู่จักรวาลอื่นๆได้
     ๒. ทิพยโสตญาณ (หูทิพย์) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสต ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ เกินความสามารถของหูมนุษย์ทั่วไปจะทำได้
     ๓. เจโตปริยญาณ (รู้วาระจิตของบุคคล) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้วาระจิตของบุคคล ย่อมรู้ใจของบุคคลด้วยด้วยใจว่า ผู้ใดมีราคะ, โมหะ, โทสะ, โมหะ, หดหู่, ฟุ้งซ่าน, เป็นสมาธิ, หรือจิตหลุดจากอาสวะ เป็นต้น
     ๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (รู้ละลึกชาติก่อนได้) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อละลึกชาติ ย่อมละลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือละลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง... สองชาติบ้าง... สิบชาติบ้าง... ร้อยชาติบ้าง... แสนชาติบ้าง... ตลอดกัป (ตั้งแต่โลกเกิด ถึงโลกพินาศ)บ้าง... หลายกัปบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่อ, มีโคตร, มีผิวพรรณ, มีอาหาร, มีความสุขความทุกข์, อย่างนั้นๆ มีอายุเท่านั้นๆ ตายจากภพนั้นแล้วไปเกิดในภพอื่น ต่อๆไป ย่อมละลึกได้ พร้อมทั้งกิริยาอาการของชีวิตในครั้งนั้นๆ
     ๕. จุตูปปาตญาณ (รู้การตาย การเกิด) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้การเกิด การตาย เพื่อเห็นหมู่สัตว์กำลังตาย, กำลังเกิด, เลวบ้าง, ประณีตบ้าง, ผิวพรรณดีบ้าง, ผิวพรรณทรามบ้าง, ได้ดีบ้าง, ตกยากบ้าง ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เกินตาของมนุษย์ทั่วไป ย่อมรู้เห็นหมู่สัตว์เป็นไปตามกรรมว่า ผู้นี้ประกอบด้วยกายทุจริต วาจาทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ ตายไปย่อมเข้าถึงอบาย, ทุคติ, วินิบาตนรก
ส่วนผู้ที่ประกอบด้วยกายสุจริต วาจาสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ ตายไปย่อมเข้าถึงสุคติสวรรค์ (เหมือนวิชชา ๓)
     ๖. อาสวักขยญาณ (ทำกิเลสให้สิ้น) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้เห็นทุกข์, เหตุของทุกข์, ความดับทุกข์, และทางดับทุกข์ ย่อมรู้เห็นอาสวะ(กิเลส), เหตุของอาสวะ, ความดับอาสวะ, และทางดับอาสวะ จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว การเกิดอีกของเราสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว (เหมือนวิชชา ๓)

   

วิชชา ๘

     วิชชา ๘ คือ ความรู้แจ้ง ความสามารถวิเศษที่ยิ่งใหญ่ขั้นสูงสุด เกินความรู้ความสามารถของมนุษย์ทั่วไปที่จะรู้และเข้าใจได้ สำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ที่เป็นภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้ว (สุปฏิปนฺโน) ในพระวินัย อาศัยปัญญาสัมปทา ย่อมบรรลุวิชชา ๘
                                  (พระอภิธรรมปิฎก ฉบับอรรถกถา เล่มที่ ๗๕ หน้า ๕๓ และ พระสูตร ฉบับอรรถกถา เล่มที่ ๑๒ หน้า ๒๑๔ ข้อที่ ๓๒๙)
    ผู้ที่จะได้ วิชชา ๘ จะต้องเป็นผู้บรรลุ จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) อย่างประณีต จนชำนาญดีแล้วเท่านั้น จึงสามารถโน้มน้อมจิตไปตามที่ตนปรารถนาได้ องค์ประกอบของวิชชา ๘ คือ:-
  ๑. วิปัสสนาญาณ (รู้แจ้งเห็นจริง) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้แจ้งเห็นจริง ย่อมรู้ชัดว่า ร่างกายของเรานี้ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน, ธาตุน้ำ, ธาตุไฟ, และธาตุลม เกิดจากมารดาบิดา เติบโตมาด้วยอาหารคือ คำข้าว ไม่เที่ยง ต้องคอยบริหารด้วยการอาบ การล้าง การอบ การนวด ต้องแตกกระจัดกระจายไปในที่สุด เป็นธรรมดา วิญญาณของเราก็อาศัยอยู่ในกายนี้
๒. มโนมยิทธิญาณ (ฤทธิ์ทางจิต) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ ย่อมนิรมิตร่างกายอื่นขึ้นมาได้ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน
๓. อิทธิวิธีญาณ (แสดงฤทธิ์) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อแสดงฤทธิ์ ย่อมสามารถแสดงฤทธิ์ได้หลายประการเช่น ทำคนเดียวให้เป็นหลายคน ทำหลายคนให้เป็นคนเดียว ทำให้ปรากฏ ทำให้หายไปทะลุฝา, กำแพง, ภูเขาได้โดยไม่ติดขัด ผุดขึ้นหรือดำลงไปในแผ่นดิน เดินบนน้ำได้โดยน้ำไม่แตก เหาะไปในอากาศได้เหมือนนก ลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มากด้วยฝ่ามือได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดนรก, สวรรค์, พรหมโลก, และไปสู่จักรวาลอื่นๆได้(เหมือนอภิญญา๖)
๔. ทิพยโสตญาณ (หูทิพย์) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสต ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ เกินความสามารถของหูมนุษย์ทั่วไปจะทำได้(เหมือนอภิญญา๖)
๕. เจโตปริยญาณ (รู้วาระจิตของบุคคลอื่น) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้วาระจิตของบุคคลอื่น ย่อมรู้ใจของบุคคลด้วยอื่นด้วยใจว่า ผู้ใดมีราคะ, โมหะ, โทสะ, โมหะ, หดหู่, ฟุ้งซ่าน, เป็นสมาธิ, หรือจิตหลุดจากอาสวะ เป็นต้น (เหมือนอภิญญา๖)
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (รู้ละลึกชาติก่อนได้) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อละลึกชาติ ย่อมละลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือละลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง... สองชาติบ้าง... สิบชาติบ้าง... ร้อยชาติบ้าง... แสนชาติบ้าง... ตลอดกัป (ตั้งแต่โลกเกิด ถึงโลกพินาศ)บ้าง... หลายกัปบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่อ, มีโคตร, มีผิวพรรณ, มีอาหาร, มีความสุขความทุกข์, อย่างนั้นๆ มีอายุเท่านั้นๆ ตายจากภพนั้นแล้วไปเกิดในภพอื่น ต่อๆไป ย่อมละลึกได้ พร้อมทั้งกิริยาอาการของชีวิตในครั้งนั้นๆ(เหมือนอภิญญา๖)
  ๗. จุตูปปาตญาณ (รู้การตาย การเกิด) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้การเกิด การตาย เพื่อเห็นหมู่สัตว์กำลังตาย, กำลังเกิด, เลวบ้าง, ประณีตบ้าง, ผิวพรรณดีบ้าง, ผิวพรรณทรามบ้าง, ได้ดีบ้าง, ตกยากบ้าง ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เกินตาของมนุษย์ทั่วไป ย่อมรู้เห็นหมู่สัตว์เป็นไปตามกรรมว่า ผู้นี้ประกอบด้วยกายทุจริต วาจาทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ ตายไปย่อมเข้าถึงอบาย, ทุคติ, วินิบาตนรก
ส่วนผู้ที่ประกอบด้วยกายสุจริต วาจาสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ ตายไปย่อมเข้าถึงสุคติสวรรค์ (เหมือนวิชชา ๓)
๘. อาสวักขยญาณ (ทำกิเลสให้สิ้น) คือความสามารถในการโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้เห็นทุกข์, เหตุของทุกข์, ความดับทุกข์, และทางดับทุกข์ ย่อมรู้เห็นอาสวะ(กิเลส), เหตุของอาสวะ, ความดับอาสวะ, และทางดับอาสวะ จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว การเกิดอีกของเราสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว (เหมือนวิชชา ๓)

  





หน้าแรก I ประวัติหลวงพ่อเกษตร I วัดเขาหินเทิน I ธรรมะโดยหลวงพ่อเกษตร I กระดานกระทู้ธรรม l ติดต่อกับเรา
Copyright © 2003  Wat Khaohinturn All rights reserved
Designed & Managed by : flmonline.net